วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2563

รอดแล้ว!ปฏิบัติการฝนหลวงช่วยเหลือขาวสวนลำไย จันทบุรีสำเร็จ

Be the first to comment!
วันที่ 13 มีนาคม 2563  นายวีระพล สุดชาฎา ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออก เปิดเผยว่า  วันนี้หลังจากที่ทางศูนย์ฯ ได้ติดตามและวิเคราะห์สภาพอากาศ พบว่าในช่วงบ่ายสภาพอากาศ เหมาะสมที่จะสามารถปฏิบัติการฝนหลวงได้ ประกอบกับได้รับอิทธิพลจากแนวปะทะอากาศจากบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีน ที่แผ่เข้ามาทางทะเลจีนใต้ จึงได้วางแผนทำฝน ช่วยเหลือชาวสวนลำไย อ.สอยดาว อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี ซึ่งมีพื้นที่สวนลำไยกำลังประสบปัญหาภัยแล้งอย่างหนักประมาณเกือบ 3 แสนไร่ รวมทั้งพื้นที่การเกษตรและอ่างเก็บน้ำใน จ.ฉะเชิงเทรา จ.ระยอง และจ.ชลบุรี
       จากผลการปฏิบัติการของหน่วยปฏิบ้ติการฝนหลวงระยอง พบว่า มีฝนตกเล็กน้อยในพื้นที่เกษตร จ.จันทบุรี(สอยดาว แก่งหางแมว) จ.ชลบุรี(บ่อทอง) จ.ระยอง(เขาชะเมา)จ.ฉะเชิงเทรา(ท่าตะเกียบ) พื้นที่ลุ่มรับน้ำอ่างเก็บน้ำคลองสียัด จ.ฉะเชิงเทรา อ่างเก็บน้ำคลองประแกด จ.จันทบุรี และเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่ป่าเขาอ่างฤาไน
      จากที่มีฝนตกลงในพื้นที่เป็นผลสำเร็จ ทำให้ชาวสวนลำไย ในพื้นที่ อ.สอยดาว จ.จันบุรี รู้สึกดีใจเป็นอย่างมาก ที่ได้รับน้ำฝน หลังจากฝนทิ้งช่วงมาเป็นเวลานาน




read more...

วันพุธที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2563

มหาไฟป่าผลาญทวีปออสเตรเลีย ปลาสูญพันธุ์ในแยงซี นับถอยหลังภูเขาไฟฟูจิระเบิด

Be the first to comment!
ทัศนียภาพอันแสนงามของภูเขาไฟฟูจิยามสงบ (ภาพเซาท์ไชน่ามอร์นิงโพสต์ /Flight Centre Hong Kong)
ทัศนียภาพอันแสนงามของภูเขาไฟฟูจิยามสงบ (ภาพเซาท์ไชน่ามอร์นิงโพสต์ /Flight Centre Hong Kong)
MGR Online/เอเจนซี - ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมามีข่าววิปริตธรรมชาติต่างประเทศที่น่าตระหนกและตระหนักรู้ 3 ข่าวแยกหน้ากัน คือ ไฟป่าที่กำลังผลาญทวีปออสเตรเลีย การสูญพันธุ์ปลาสำคัญในแม่น้ำแยงซีเกียง และคณะกรรมการการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก รอบคอบเตรียมรับมือหากภูเขาไฟฟูจิปะทุระหว่างการแข่งขันมหกรรมกีฬามนุษยชาติที่โตเกียวกลางปีนี้ ไว้แล้วตั้งแต่เมื่อ 2 ปีก่อน
หากมองในแง่ข่าวสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ข่าวเหล่านี้อาจแยกเป็นข่าวในประเทศ - ต่างประเทศสุดแต่ว่าประเทศไหนรับไป แต่ธรรมชาติวิทยาไม่มีการแบ่งแยกประเทศ ทุกเรื่องที่เกิดคือที่และเรื่องเดียวกันหมด เพราะระบบนิเวศน์ธรรมชาติมีความเป็นหนึ่งเดียวกัน ไม่เหมือนระบบย่อยที่มนุษย์สร้างกันเอง
ไฟป่าในบราซิล หรือป่าออสเตรเลีย ส่งผลธารน้ำแข็งในนิวซีแลนด์ หมอกพิษในอินโดนีเซีย ก็ย่อมเป็นเรื่องหมอกพิษเดียวกันในสิงคโปร์ แผ่นดินไหว หรือสึนามิที่หนึ่ง ย่อมส่งสัญญาณถึงอีกฝั่งหนึ่ง
ชาร์ล ดิกแมน นักนิเวศวิทยาจากมหาวิทยาลัยซิดนีย์อธิบายกับ HuffPost ว่า ไฟป่าที่กำลังผลาญทวีปออสเตรเลีย วอดแล้วกว่า 10 ล้านเฮคเตอร์ เทียบขนาดพื้นที่เกือบเท่าประเทศอังกฤษ มีผู้เสียชีวิตแล้ว 25 คน เมื่อสัปดาห์ที่แล้วมีรายงานว่าสัตว์เกือบครึ่งล้านตายในกองเพลิง เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา HuffPost รายงานว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นพันล้าน และ 800 ล้าน ในนิวเซาธ์เวลส์เพียงลำพัง”
ดิคแมน กล่าวเสริมว่า หากนับรวมค้างคาวกบและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง แมลง ฯลฯ ที่ไม่เหลือซากให้พบ จำนวนสัตว์ป่าที่เสียชีวิต “ไม่ต้องสงสัยเลย” ว่าเกิน 1 พันล้าน ตัวเลขนี้ได้รับการยืนยันจากนักวิทยาศาสตร์อีกคนหนึ่งคือ สจ๊วต แบลนช์ Stuart Blanch ขอ งWorld Wildlife Fund Australia ซึ่งบอกกับ HuffPost ว่าจำนวนสัตว์ที่เสียชีวิต ประมาณ 1 พันล้าน ก็ยังต่ำไป สัตว์ป่าบางชนิดที่อยู่ในสถานะถูกคุกคามและใกล้สูญพันธุ์ต้องเผชิญกับการสูญพันธุ์ทั้งหมด อันเป็นผลมาจากไฟป่า
เช่นเดียวกับอีกประเทศ ข่าวโลมาแม่น้ำแยงซีเกียง “เทพธิดาแห่งแยงซีเกียง” สูญพันธุ์แล้ว (Functionally Extinct) เหมือนชะตากรรมของฉลามปากเป็ดซึ่งมีฉายา “ราชาแห่งลุ่มน้ำแยงซีเกียง” สายพันธุ์ดึกดำบรรพ์ที่ปรากฏขึ้นบนโลกมานาน 15 ล้านปี สูญพันธุ์แล้วเช่นกัน ด้านผู้เชี่ยวชาญจีนได้แต่กล่าวอย่างหดหู่ว่า “มันเป็นความสนใจที่สายไปเสียแล้ว”
สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน ถึงขั้นออกมาชี้วิกฤตเลวร้ายอย่างแทบจะพูดได้ว่า “ไม่มีปลา” เหลืออยู่ในแยงซีเกียง
ไฟป่า ปลาสูญพันธุ์ ล้วนเกิดจากทั้งการแทรกแซงธรรมชาติด้วยมือมนุษย์ใต้คำว่าพัฒนาเทคโนโลยี จนเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และอุณหภูมิโลกที่ร้อนขึ้นสะท้อนไปมา ทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ไร้หมุดยึดแผ่นเปลือกโลก ทำแผ่นดินไหว แมกม่าใต้ดินไหลเคลื่อนรวมตัว ... และคงไม่เกินเลยไป หากมีนักวิทยาศาสตร์เริ่มออกมาพูดถึงเรื่องภูเขาไฟทั่วโลกจะระเบิด! เร็วขึ้น
"ภูเขาไฟฟูจิ" ที่นิ่งนาน แต่ก็ไม่ได้สงบ (Active volcano) แม้ฟูจิ อาจจะไม่ได้อยู่ในรายการติดตามฯ ที่มีความเสี่ยงในการระเบิดตามความเห็นของนักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่ง แต่กลุ่มนั้นก็ไม่มีใครรู้แน่ชัดว่าระเบิดเมื่อใด ยิ่งเมื่อจะมีการนำปัจจัยอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในรอบหลายปีนี้มาคำนวน จึงยังต้องพยายามศึกษาตามขีดจำกัดของความรู้ ติดตามและหาทางรับมือกับความน่าสะพรั่นพรึง
ผู้เชี่ยวชาญสำนักอุตุนิยมวิทยาของออสเตรเลีย กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากมนุษย์ทำให้สถานการณ์เลวร้ายขึ้น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำลังเพิ่มความเสี่ยงของไฟป่าในออสเตรเลีย โดยการเพิ่มความยาวนานของฤดูไฟป่าจนผิดปกติ และอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นเพิ่มปริมาณเชื้อเพลิง (พืชแห้ง) และลดปริมาณฝน ลดปริมาณน้ำที่มีอยู่เนื่องจากการระเหยที่สูงขึ้น”
นักวิทยาศาสตร์ยังกล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ จะนำไปสู่การเกิดแผ่นดินไหวที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกและภูเขาไฟระเบิด!!
นี่คือเหตุที่ปัญหาโลกร้อน กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาชะตากรรมร่วมของมนุษย์และทุกสิ่งในโลก
ตั้งแต่ปี 2518 โลกร้อนขึ้นอย่างน่าตกใจโดยนักวิทยาศาสตร์ระบุว่าอุณหภูมิโลกสูงขึ้นประมาณ 0.15-0.20 องศาเซลเซียสต่อทศวรรษ ในขณะที่ตัวเลขนี้ดูเหมือนจะค่อนข้างต่ำ แต่ภาวะโลกร้อนมีผลกระทบอย่างไม่น่าเชื่อกับน้ำแข็งขั้วโลกซึ่งยังคงละลาย ตั้งแต่ปี 2522 ปริมาณน้ำแข็งในแถบอาร์กติกหรือขั้วโลกเหนือลดลง 80% อย่างน่าวิตก แม้นักวิทยาศาสตร์เตือนว่าจะยังไม่ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น
แต่ตอนนี้นักวิจัยรับรู้ถึงวิกฤตน้ำแข็งที่ละลายเพิ่มขึ้นว่า อาจทำให้เกิดภัยคุกคามที่สำคัญอีกประการหนึ่ง นั่นคือ "การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกใต้พื้นผิวเพิ่มมากขึ้น" ซึ่งปลดปล่อย "แรงดันมหาศาล" ที่สั่งสมมานานนับพันปี และทำให้ "เกิดแผ่นดินไหว" สิ่งที่ตามมาคือ เมื่อเกิดแผ่นดินไหวมากๆ บ่อยๆ ทั่วโลก ก็ย่อมส่งผลให้แมกม่าใต้ดินเลื่อนไปรวมกันตามจุดต่างๆ ของ "ภูเขาไฟ" จนแรงดันมากพอย่อมต้องหาทางออกด้วยการปะทุ และระเบิดแรงกดดันมหาศาลออกมา
เว็บไซต์ Science Focus กล่าวว่า “แผ่นดินไหวเกิดขึ้นเมื่อแผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่ที่ประกอบเป็นแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่และบดทับกันตามแนวรอยเลื่อน"
“แผ่นน้ำแข็งและธารน้ำแข็งสามารถช่วยรักษาโครงสร้างของภูเขาไฟและภูเขาต่างๆ ในพื้นที่ของแผ่นดินที่มีน้ำแข็งปกคลุมหนา เช่น กรีนแลนด์หรือแอนตาร์กติกา น้ำหนักมหาศาลกดทับของชั้นน้ำแข็งที่หนาไม่กี่พันเมตรอาจป้องกันการขยับของแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ได้ แต่หากน้ำแข็งเหล่านี้ละลาย แผ่นเปลือกโลกย่อมอาจเลื่อนเคลื่อนอย่างสะเปะปะ และปล่อยพลังงานที่เคยถูกกักปิดไว้กระจายออกมารอบๆ ก่อให้เกิดการสั่นสะเทือนแผ่นดินไหวมากขึ้น"
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจึงส่งผลต่อการปะทุของภูเขาไฟด้วยเหตุนี้

จีออชิโน โรแบร์ตี นักศึกษาปริญญาเอกจาก University of Clermont Auvergne กล่าวว่า “ให้จินตนาการน้ำแข็งเหมือนชั้นป้องกันบางอย่าง - เมื่อน้ำแข็งละลายไปภูเขาจะยุบตัวอย่างไร้การควบคุม หากเป็นภูเขาไฟ ก็มีปัญหาอื่นตามมาอีก"
“ภูเขาไฟเป็นระบบธรณีที่มีปัจจัยแรงดันและถ้าแรงกดจากน้ำแข็งคลายตัวเพราะการละลาย และดินถล่มจะมีปัญหาอื่นทางธรณีตามมาแน่นอน”
ศาสตราจารย์เดวิด รอธรี นักธรณีวิทยาที่ The Open University กล่าวว่า“งานวิจัยใหม่นี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า หากคุณเปลี่ยนแรงกดทับที่ส่งผลต่อเปลือกโลก ย่อมส่งผลกับภูเขา และ ภูเขาไฟ
“การปะทุของภูเขาไฟเกิดขึ้นได้จากปัจจัยหลายประการที่ซับซ้อน ผมสงสัยว่าการปะทุหลายครั้งที่เกิดจากการละลายของน้ำแข็งอาจเกิดขึ้นได้ในที่สุดโดยอาศัยระยะเวลาที่นานพอ แต่งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า ภาวะโลกร้อนอาจเพิ่มโอกาสของการปะทุของภูเขาไฟให้เกิดขึ้นเร็วขึ้น” ศาสตราจารย์เดวิด รอธรี
ไฟป่าที่กำลังผลาญทวีปออสเตรเลีย วอดแล้วกว่า 10 ล้านเฮคเตอร์ เทียบขนาดพื้นที่เกือบเท่าประเทศอังกฤษ  (ภาพเอเจนซี)
ไฟป่าที่กำลังผลาญทวีปออสเตรเลีย วอดแล้วกว่า 10 ล้านเฮคเตอร์ เทียบขนาดพื้นที่เกือบเท่าประเทศอังกฤษ (ภาพเอเจนซี)

แนวโน้มว่าไฟป่าออสเตรเลียจะควบคุมได้เมื่อใดนั้นยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ ออสเตรเลียกำลังเข้าสู่ช่วงสภาวะแห้งแล้งที่สุดของปี ก็คือช่วงเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ ของทุกปี ถึงตอนนั้นวิกฤตไฟป่าอาจจะเลวร้ายกว่าเดิมอีก หากประเมินจากสภาพการตอนนี้ การจะควบคุมสภาวะไฟป่าได้ คงจะยังไม่ใช่ในช่วงก่อนเดือนกุมภาพันธ์
อากาศ ป่า น้ำ ใต้ดิน ล้วนเกี่ยวข้องกัน สถานการณ์ไฟป่าไม่ว่าจะเกิดที่ใด บราซิล หรือออสเตรเลีย จะส่งผลถึงสภาวะอากาศโลกให้เลวร้าย เป็นผลกระทบถึงทุกประเทศบนโลก เพราะไฟไม่เพียงเผาไหม้ต้นไม้และพุ่มไม้และปล่อยควันก๊าซคาร์บอนสู่ชั้นอากาศ แต่ยังเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นดินและการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นก็มีผลกระทบย้อนกลับมาต่อสภาพอากาศเช่นกัน
ในช่วงเวลาหลายทศวรรษ หลังจากเกิดเพลิงไหม้ขนาดใหญ่ทั่วโลก การปล่อยก๊าซจากการย่อยสลายของไม้ที่ตายแล้วมักจะสูงกว่าการปล่อยโดยตรงจากไฟ
สก๊อต เดนนิ่ง นักวิทยาศาสตร์ชั้นบรรยากาศที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐโคโลราโดกล่าวว่า การศึกษาเฉพาะพื้นที่แสดงให้เห็นว่าผลการระบายความร้อนในป่าทางเหนือสามารถคงอยู่ได้นานหลายทศวรรษ ในทางตรงกันข้ามป่าฝนเขตร้อนท้องฟ้ามืดสามารถงอกใหม่ภายในไม่กี่ปี
เมื่อต้นไม้ใหม่งอกโตได้เร็ว จะสามารถเริ่มเก็บคาร์บอนจำนวนมากได้อย่างรวดเร็ว แต่งานวิจัยเมื่อไม่นานมานี้ชี้ให้เห็นว่า"ภาวะโลกร้อนกำลังยับยั้งไม่ให้เกิดการงอกใหม่ของป่า" อาทิ หลังเหตุการณ์ไฟป่าบริเวณแนวเทือกเขาโคโลราโดและในป่าของเซียร่าเนวาดา 

ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นในทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งหมายความว่าป่าไม้มีปริมาณน้อยกว่าที่จะนำซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาจากชั้นบรรยากาศ จากที่เคยประมาณว่าป่าไม้ช่วยดูดซับได้ถึงร้อยละ 30 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของมนุษย์
นักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถบอกได้อย่างแน่นอนว่าระดับการเกิดไฟไหม้ทั่วโลกในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานั้นร้อนหรือเย็นลงโดยรวม ส่วนหนึ่งของเหตุผลที่พวกเขาไม่มีคำตอบที่ชัดเจนเพราะนอกจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ไฟป่ายังผลิตอนุภาคอินทรีย์ระเหยอื่น ๆ อีกมากมายที่เรียกว่าละอองลอย รวมถึงสารเช่น คาร์บอนแบล็ค หรือเขม่าควันดำและก๊าซที่ก่อตัวเป็นโอโซน
การศึกษาเมื่อเร็ว ๆ นี้แสดงให้เห็นว่าไฟป่าปล่อยมลพิษอนุภาคละเอียดมากกว่าสามเท่าโดยหน่วยงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ระบุว่ามลพิษนี้ก่อปัญหาสุขภาพและนักวิทยาศาสตร์ก็กำลังทำงานเพื่อทำความเข้าใจผลกระทบที่มีต่อสภาพอากาศ
อนุภาคและละอองเหล่านี้บางอย่างสามารถทำให้บรรยากาศสะท้อนกลับและปิดกั้นแสงแดดเหมือนกระจกมากยิ่งขึ้น และยังแผ่กระจายลอยตามลมจากไฟป่าไปได้ไกลจากแหล่งที่มา
ไฟป่าขยายพื้นที่มากกว่า 100,000 เอเคอร์ หรือที่เรียกว่าเป็น Megafires ล้วนเพิ่มการปล่อยและส่งมลพิษเหล่านี้ให้สูงขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในสัปดาห์นี้พบว่าไฟป่าในแคนาดาในปี 2560 ส่งผลให้เกิดละอองลอยในระดับสูงทั่วยุโรปสูงกว่าที่วัดหลังจากการปะทุของ ภูเขาไฟปินาตูโบ ฟิลิปปินส์ เมื่อปี 2534
มาร์ก แพร์ริงตัน นักวิทยาศาสตร์อาวุโสจากศูนย์พยากรณ์อากาศในระดับกลางของยุโรปกล่าวว่า การเพิ่มขึ้นของไฟป่าระดับ megafires เพราะปัจจัยภาวะโลกร้อน สามารถเปลี่ยนวัฏจักรก๊าซคาร์บอน ส่งผลซ้ำเติมปัญหาก๊าซเรือนกระจก
ในบางปีนักวิทยาศาสตร์ได้ติดตาม เศษเล็กเศษน้อยของพืชที่ถูกไฟไหม้ยังสามารถส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศ เมื่อคลุมธารน้ำแข็งบนภูเขาและโดยเฉพาะอย่างยิ่งบนหิมะและน้ำแข็งในแถบอาร์กติก
ตอนนี้ไฟป่าในออสเตรเลีย กระจายความร้อนส่งผลให้หิมะและธารน้ำแข็งในนิวซีแลนด์เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหลังจากถูกฝุ่นจากพุ่มไม้ของออสเตรเลีย โดยผู้เชี่ยวชาญรายหนึ่งกล่าวว่าเหตุการณ์นี้ทำให้ธารน้ำแข็งละลายเพิ่มขึ้นในฤดูกาลนี้ได้มากถึง 30%
เมื่อเดือนพฤศจิกายน ปีที่แล้ว (2562) นักวิทยาศาสตร์จาก 153 ประเทศทั่วโลก จำนวนกว่า 11,000 คน ร่วมกันลงนามสนับสนุนรายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อมโลกฉบับล่าสุด รวมทั้งออกแถลงการณ์ประกาศ "ภาวะฉุกเฉินด้านภูมิอากาศ" (Climate emergency)
รายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อมโลก ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Bioscience อันเป็นที่มาของการประกาศภาวะฉุกเฉินด้านภูมิอากาศในครั้งนี้ ได้รวบรวมข้อมูลการวิจัยที่ยาวนานกว่า 40 ปี ซึ่งครอบคลุมตัวชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อมที่หลากหลาย
ดร. โทมัส นิวซัม นักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมจากมหาวิทยาลัยซิดนีย์ของออสเตรเลีย หนึ่งในแกนนำของกลุ่มผู้ประกาศภาวะฉุกเฉินด้านภูมิอากาศบอกว่า "จากข้อมูลที่เรามีอยู่นั้น ชัดเจนว่าโลกกำลังเผชิญกับภาวะฉุกเฉินด้านภูมิอากาศ หากมนุษย์ไม่เร่งแก้ไข มีความเป็นไปได้สูงว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นจะรุนแรงกว่าที่เคยพบเจอกันมาอย่างมาก เช่นบางพื้นที่ของโลกอาจไม่สามารถอยู่อาศัยได้อีกต่อไป" ดร. นิวซัมกล่าว
ภูเขาไฟฟูจิ จะระเบิดหรือไม่ เมื่อไหร่ไม่มีใครบอกได้ แต่ในความวิปริตต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับธรรมชาติทั่วโลก ย่อมเกี่ยวพันและมีความเป็นไปได้ว่าจะเร่งนับถอยหลัง "ระเบิดเวลาของภูเขาไฟทั่วโลก ไม่เพียงแต่ฟูจิ"


read more...

วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2562

ปฏิบัติการฝนหลวงเคลื่อนที่เร็วช่วงชิงสภาพอากาศ ช่วยพื้นที่การเกษตรและอ่างเก็บน้ำใน จ.ระยอง

Be the first to comment!

วันที่ 26 ธันวาคม 2562 ที่ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออก นายวีระพล สุดชาฎา ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออก สนามบินอู่ตะเภา อ.บ้านฉาง จ.ระยอง เปิดเผยว่า ทางศูนย์ฯได้ทำการวิเคราะห์และติดตามสภาพอากาศ พบว่ามีโอกาสในการปฏิบัติการฝนหลวง  ซึ่งได้วางแผนและประสานให้ หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงเคลื่อนที่เร็ว จังหวัดนครสวรรค์ บินมาปฏิบัติการฝนหลวงในพื้นที่ภาคตะวันออก โดยใช้เครื่องบินชนิดกาซ่า 2 ลำ ปฏิบัติการในขั้นตอนเลี้ยงให้อ้วนและขั้นตอนโจมตี  ผลจากการปฏิบัติการ มีฝนตกเล็กน้อยบริเวณพื้นที่บางส่วนของ อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง และพื้นที่ลุ่มรับน้ำอ่างเก็บน้ำดอกกราย อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล ทั้งนี้ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออก ยังคงมีการวิเคราะห์และติดตามสภาพอากาศทุกวัน ถ้าสภาพอากาศเหมาะสมจะขึ้นบินปฏิบัติการฝนหลวงเคลื่อนที่เร็วช่วยเหลือ พื้นที่ในกรุงเทพฯและปริมณฑลที่เกิดมลพิษจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก พื้นที่การเกษตรที่ต้องการน้ำ และเติมน้ำให้กับเขื่อน อ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำน้อยในภาคตะวันออกทันที
read more...

วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2562

ออสเตรเลียเจอคลื่นความร้อนซ้ำเติม ผวา ‘ซิดนีย์’ ถูกไฟป่าขนาบ 3 ด้าน-ยังคุมไม่อยู่

Be the first to comment!
เอเอฟพี - สภาพอากาศที่ร้อนจัดส่งผลให้วิกฤตไฟป่าในออสเตรเลียยิ่งทวีความรุนแรง ขณะที่วันนี้ (21 ธ.ค.) ขณะที่ไฟป่าโอบล้อมซึ่งโอบล้อมนครซิดนีย์อยู่ถึง 3 ด้านส่อแววลุกลามเข้าขั้น “หายนะ”

คลื่นความร้อนซึ่งเคลื่อนตัวมาจากฝั่งตะวันตกส่งผลให้พื้นที่ชายฝั่งตะวันออกของออสเตรเลียมีสภาพอากาศร้อนจัดเป็นประวัติการณ์ และทำให้ไฟป่าหลายร้อยจุดยิ่งลุกลามขยายวง
ซิดนีย์ซึ่งเป็นมหานครอันดับ 1 ของออสเตรเลียต้องเผชิญกับหมอกควันพิษจากไฟป่าทั้งทางด้านเหนือ, ใต้ และตะวันตก โดยบางจุดนั้นอยู่ห่างจากตัวเมืองเพียงแค่ 130 กิโลเมตร
อุณหภูมิที่รัฐนิวเซาท์เวลส์วันนี้ (21) คาดว่าจะพุ่งสูงสุดถึง 47 องศาเซลเซียสในบางพื้นที่ รวมถึงทางฝั่งตะวันตกของนครซิดนีย์
ออสเตรเลียเกิดไฟป่าอยู่เป็นประจำทุกปี ทว่าฤดูไฟป่าปีนี้ถือว่ามาเร็วและรุนแรงกว่าที่เคย อีกทั้งสภาพอากาศก็ยังร้อนทุบสถิติ ทำให้หลายฝ่ายวิตกถึงผลกระทบของภาวะโลกร้อน
ไฟป่าได้เผาผลาญบ้านเรือนประชาชนและพื้นที่ป่าในออสเตรเลียไปแล้วอย่างน้อย 3 ล้านเฮกตาร์ หรือขนาดพอๆ กับประเทศเบลเยียม โดยมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 10 ราย และบ้านเรือนถูกเผาวอดไปอีกกว่า 800 หลัง
ไฟป่าขนาดยักษ์ (mega fire) ซึ่งเผาทำลายพื้นที่ 460,000 เฮกตาร์ทางตอนเหนือของซิดนีย์มีแนวโน้มว่าจะรุนแรงขึ้นในวันนี้ (21) เช่นเดียวกับไฟป่าอีกหลายจุดในเขตบลูเมาน์เทนส์ ซึ่งเจ้าหน้าที่ยอมรับว่ายังไม่ทราบว่ามีสิ่งปลูกสร้างเสียหายไปแล้วมากน้อยเท่าไหร่
เชน ฟิตซ์ซิมมอนส์ ผู้บัญชาการสำนักงานดับเพลิงชนบทแห่งรัฐนิวเซาท์เวลส์ ระบุว่า กระแสลมที่เปลี่ยนทิศในช่วงบ่ายอาจทำให้ภารกิจของเจ้าหน้าที่ดับเพลิงราว 3,000 นายยิ่ง “ยากลำบาก อันตราย และคาดเดาได้ยากขึ้น”
รัฐเซาท์ออสเตรเลียก็เผชิญคลื่นความร้อนอย่างรุนแรงในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา โดยเจ้าหน้าที่ดับเพลิงกว่า 1,500 นายกำลังเร่งต่อสู้กับไฟป่าซึ่งกินพื้นที่มากกว่า 40,000 เฮกตาร์
ล่าสุด มีรายงานผู้เสียชีวิตจากไฟป่าแล้ว 2 รายในช่วง 2 วันที่ผ่านมา ขณะที่หน่วยดับเพลิงและชาวบ้านอีกหลายสิบคนถูกนำส่งโรงพยาบาลด้วยอาการบาดเจ็บหรือสูดดมควันพิษเข้าไป

คณะแพทย์ได้ประกาศ “ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข” ในนครซิดนีย์ ซึ่งเผชิญฝุ่นควันพิษจากไฟป่ารุนแรงยิ่งกว่าทุกครั้ง



read more...

วันอาทิตย์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2562

จับยามสามตาปี’62 เกษตรกร 4.0 สู้แล้ง

Be the first to comment!
จับยามสามตา “เกษตรกรไทย” ปี 2562 ขาขึ้น? หรือขาลง?...โดยเฉพาะเรื่องของสภาพดินฟ้าอากาศจะหนุนนำ ส่งผลเอื้อให้การทำเกษตรสำเร็จลุล่วง ได้ผลผลิตลืมตาอ้าปากได้มากน้อยแค่ไหนอย่างไร

จริยา สุทธิไชยา เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) บอกว่า วิกฤติภัยแล้งขณะนี้อยู่ในเรื่องของปรากฏการณ์เอลนีโญ ช่วงไตรมาสแรก...มกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม ปีนี้ยังมีสถานะเป็นกำลังอ่อน
ก็คือ...อุณหภูมิของผิวน้ำมหาสมุทรแปซิฟิกเขตศูนย์สูตรมีค่าสูงกว่าปกติอยู่ที่ประมาณ 0.5-1 องศาเซลเซียส เป็นฤดูร้อนประเทศไทยที่อากาศแห้งแล้งก็อาจจะมีปริมาณน้ำน้อย ทำให้ฝนตกน้อย ซึ่งมีการประกาศฤดูร้อนอย่างเป็นทางการจากกรมอุตุนิยมวิทยาตั้งแต่ 21 กุมภาพันธ์ คาดว่าถึงกลางเดือนพฤษภาคม
โดยรวมแล้วในช่วงเวลานี้อยู่ในภาวะความแห้งแล้ง เพราะเป็นฤดูร้อน...มีปรากฏการณ์เอลนีโญในระดับอ่อน สิ่งที่ต้องติดตามก็คือในช่วงไตรมาสต่อไป...เดือนเมษายน พฤษภาคม มิถุนายน ที่จะเข้าใกล้ฤดูฝน
ส่วนประเด็นที่บอกว่า...ปีนี้เป็นวิกฤติภัยแล้ง! หนักในรอบ 30 ปี เอาเป็นว่าในช่วง 15 ปีนับตั้งแต่ปี 2548 ถือว่า...ยังไม่รุนแรงที่สุดในรอบ 15 ปี ที่รุนแรงคือปี 2558 ในปีนั้นวิกฤติภัยแล้งรุนแรงหนักมาก
ดูจากปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำ ปริมาณน้ำฝนเทียบค่าปกติ แล้วก็ช่วงฝนทิ้งช่วง ที่สำคัญคือเรื่องของความเสียหายที่เกิดจากความแห้งแล้งที่กระทบต่อการเพาะปลูกของเกษตรกร ถึงขั้นประกาศงดทำนาปรัง
แล้ว...ผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน ยางพาราก็มีผลผลิตต่อไร่ค่อนข้างต่ำมาก
“ปีนี้เราผ่านไตรมาสแรกมาแล้ว ก็อาจมีความเสียหายบางส่วน แต่ไม่ใช่ภัยแล้งที่รุนแรงที่สุดเท่าที่เคยเกิด แต่ต้องติดตามปรากฏการณ์การเกิดเอลนีโญในไตรมาสที่สอง...สาม ที่เป็นฤดูการเพาะปลูกต่อไป แล้วจะเห็นเรื่องปริมาณฝน ปริมาณน้ำในเขื่อน น้ำท่า...แหล่งน้ำธรรมชาติว่าเป็นยังไง”
เมื่อช่วงปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยตัวเลขภาวะเศรษฐกิจการเกษตรไตรมาส 1 ปี 2562 ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561 ถือว่าขยายตัวในระดับต่ำหรือค่อนข้างทรงตัว เป็นผลมาจากอัตราการขยายตัวของสาขาพืชที่ชะลอลงเป็นหลัก
การผลิต “พืชเศรษฐกิจ” หลายชนิดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งข้าวนาปี ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และลำไย ยกเว้นอ้อยโรงงาน ซึ่งมีมูลค่าการผลิตสูงสุดในสาขาพืชในไตรมาสแรก กลับมีผลผลิตลดลงค่อนข้างมาก เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้งแล้ง ทำให้การแตกกอ...เจริญเติบโตต้นอ้อยไม่สมบูรณ์
อีกตัวอย่าง สาขาพืช ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.1 “ข้าวนาปี”...มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาข้าวในปีที่ผ่านมาอยู่ในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะราคาข้าวหอมมะลิที่ปรับตัวสูงขึ้นมาก ทำให้เกษตรกรขยายเนื้อที่เพาะปลูกในนาที่เคยปล่อยว่าง “ข้าวนาปรัง”...มีผลผลิตเพิ่มขึ้นเนื่องจากเกษตรกรมีการจัดการดูแลที่เหมาะสม มีน้ำเพียงพอ
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาอยู่ในเกณฑ์ดีมีความต้องการต่อเนื่อง ประกอบภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังฤดูทำนา ทำให้เกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูก ฯลฯ
ด้านการผลิต “สินค้าปศุสัตว์” โดยรวมเพิ่มขึ้น ขยายรองรับความต้องการของตลาด รวมทั้งมีการจัดการฟาร์มที่ได้คุณภาพมาตรฐาน ส่วนการผลิต “สินค้าประมง” ผลผลิตกุ้งทะเลเพาะเลี้ยงเริ่มปรับตัวดีขึ้น การทำประมงทะเลและการเลี้ยงสัตว์น้ำจืดมีทิศทางเพิ่มขึ้น
จริยา ย้ำว่า ปีนี้คาดว่าจีดีพีเกษตรจะอยู่ที่อัตราขยายตัวเป็นบวก 2.5-3.5 ต่อปี ขณะที่ปี 2558 เจอวิกฤติภัยแล้งหดตัว...ติดลบ ต่ำกว่าศูนย์ จากการวิเคราะห์ข้อมูลไตรมาสสองสำหรับพื้นที่ต้องเฝ้าระวังปีนี้คือจังหวัดร้อยเอ็ดกับศรีสะเกษ พื้นที่ราวๆ 2.9 แสนไร่ต้องเตรียมรับมือแหล่งน้ำให้เพียงพอต่อการเพาะปลูก
เงื่อนปัญหาในวันวานทำให้เกิดกลไกแก้ปัญหาน้ำในระดับชาติ ในวันนี้มีหน่วยงานบริหารจัดการน้ำกำกับดูแลชัดเจน ที่สำคัญยังมีเรื่องของจำนวนแหล่งน้ำที่เพิ่มขึ้น ทั้งการสร้างแหล่งน้ำระดับลุ่มน้ำ พื้นที่จังหวัด ชุมชน สาธารณะ กระทั่งสระน้ำในไร่นามากขึ้น พร้อมระบบส่งกระจายน้ำ จะช่วยให้บรรเทาภาวะภัยแล้งได้เป็นอย่างดี
หากจะถามว่า “เกษตรกรยุค 4.0” สัญญาณดีไม่ดี? จริยา มองว่า เกษตรกรไทย 4.0 เป็นเรื่องของการเตรียมพร้อมรับมือและเปลี่ยนแปลงวิถีการเกษตรให้ทันโลกสมัยใหม่ ผลิตของที่มีคุณภาพ สร้างมูลค่าเพิ่ม ลดต้นทุนการผลิต แล้วรู้ว่าตลาดอยู่ไหน รู้ว่ากลุ่มไหน...อายุช่วงไหน...วัยไหน...ผู้มีกำลังซื้ออยู่ที่ไหน
ตอกย้ำประเด็น “การตลาดนำการผลิต” หลักการสำคัญเพื่อให้ผลผลิตไม่ขาดและไม่เกินในตลาด ถ้าเราไม่รู้ตลาดผลิตโดยไม่รู้ก็อาจมีผลผลิตขาด ราคาก็จะสูง ผู้บริโภคก็จะเดือดร้อนต้องซื้อในราคาแพง หรือเกิดการขาดแคลน...คนที่มีกำลังซื้อต่ำจะเดือดร้อน ไม่อย่างนั้นเราก็อาจจะผลิตเกินก็ได้กลายเป็นโอเว่อร์ซัพพลาย
“...ของมีเยอะราคาก็จะต่ำ ขาดทุน เกษตรกรเดือดร้อน ไม่จูงใจให้อยากผลิต แล้วก็เกิดอาหารขาดแคลนในระยะต่อไป ตลาดนำผลิตคือรู้ตลาดอยู่ไหนใครคือผู้บริโภค พฤติกรรม ความต้องการเป็นอย่างไร
เมื่อรู้แล้วก็วางแผนการผลิตให้สมดุล ใกล้เคียง...ไม่ขาด ไม่เหลือมาก ด้วยสินค้าการเกษตรมีข้อจำกัด ผลิตแล้วเก็บเข้าโกดังไม่ได้ ต้องวางแผนเตรียมการผลิตตามพื้นที่ที่เหมาะสม”
“เทคโนโลยี” จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะมาจัดการไร่นา ใช้เทคโนโลยีเป็น รวมกลุ่มกันแบ่งปันความรู้ใหม่ๆ ทำงานเชิงรุก แปลงใหญ่...แลกเปลี่ยนกัน เรามีสมาร์ทฟาร์มเมอร์ 1.1 ล้านราย ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์ 10,400 ราย... ทำแปลงใหญ่เกษตร GAP เกษตรอินทรีย์ ทำเรื่องสมุนไพรอาหาร...สินค้าที่ผลิตน้อยได้ (มูลค่า) มาก
สัญญาณดีเหล่านี้สะท้อนไปในทิศทางบวก “เกษตรกรไทย 4.0” จะเห็นว่าคนเหล่านี้ไม่ใช่ลูกหลานเกษตรกรทั้งหมด หากแต่บางคนเป็นคนทำงานอิสระ เป็นนักธุรกิจ วิศวกร นักบัญชี หมอ พยาบาล นักสื่อโฆษณา เรียกว่า...มีอาชีพอื่นๆแล้วอยากทำเกษตรสมัยใหม่ อยากเรียกว่า “เกษตรนวัตกร”
“มีความรู้มากกว่าเกษตร แล้วสนใจเกษตร มาทำเกษตร ใช้สหวิชาชีพของเขามาช่วยพัฒนาภาคเกษตร ก็จะมีเรื่องการจัดการผลิต ตลาด สิ่งแวดล้อม การสร้างแบรนด์ แปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม อาจจะเริ่มจากกลุ่มเล็กๆด้วยตัวเขาเองแล้วก็ขยายเครือข่ายเป็นกลุ่มสถาบัน...เติบโตด้วยความเร็วมากกว่าขนาดต่อไปได้”
การเกษตรยุค 4.0 เกษตรกรคนรุ่นใหม่เหล่านี้อาจจะไม่ได้ทำในพื้นที่มากๆ 50 ไร่...100 ไร่ แต่ทำในแนวตั้ง ใช้พื้นที่ไม่เยอะ แต่สร้างมูลค่าเพิ่มได้มาก คาดว่าเกษตรกรเหล่านี้ต่อไปจะเป็นผู้นำ แกนนำพาเกษตรกรกลุ่มอื่นๆเดินตามไป ยิ่งเมื่อบวกกับปราชญ์เกษตร ส่วนใหญ่อายุ 50 ปีขึ้นไปมีประสบการณ์มาก มีอยู่ราวๆ 2.3 แสนราย...
“ปราชญ์เกษตร” จะทำการเกษตรแบบมีความสุข ตามภูมิคุ้มกันแบบเศรษฐกิจพอเพียง ทำเกษตรกรรมยั่งยืน ลดความเสี่ยงของรายได้ แต่ตามทันความเปลี่ยนแปลงของบริบทโลกคือไม่ล้าสมัย
จริยา บอกว่า ทั้งกลุ่มสมาร์ทฟาร์มเมอร์ ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์ และปราชญ์เกษตร รวมกันก็เกือบๆ 1.5 ล้านราย (ครัวเรือน) เกือบ 20 เปอร์เซ็นต์ครัวเรือนเกษตร ถ้ามีอยู่ 7.63 ล้านครัวเรือน...มีอานุภาพพอที่จะแตกกระจายในกลุ่มเกษตรกรอื่นๆ จะเป็นกลุ่มที่มีภูมิคุ้มกันเข้มแข็งมีความรู้สมัยใหม่ พัฒนาวิถีการเกษตรในยุค 4.0 ได้
“อาจจะต้องมีการส่งเสริม สนับสนุนให้พวกเขาทำวิจัยพัฒนา ต่อยอด เป็นหน้าที่ของภาครัฐจะต้องส่งเสริมสนับสนุนให้เกษตรกรกลุ่มนี้เป็นผู้นำหัวขบวนนำเกษตรกรกลุ่มอื่นๆให้ทำงานร่วมกันผ่านแหล่งทุนด้านวิจัยต่างๆ แลกเปลี่ยนกันในเวทีต่างๆ เพื่อพัฒนาเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ สินค้าเกษตรให้มากยิ่งขึ้น”
“เกษตรกรไทย 4.0” คือความหวังใหม่อนาคตเกษตรไทย...ห่างไกลวิถียิ่งทำจะยิ่งจน สวนทางยิ่งนานวันยิ่งสาละวันเตี้ยลง.

ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์
read more...

"เอลนีโญ" ปีนี้มาเร็ว-ฤดูร้อนยาวนาน หวั่นแล้งหนักทุกภูมิภาค

Be the first to comment!
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เปิดเวทีเสวนา รับมือภัยแล้ง ระดมผู้เชี่ยวชาญร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูล ชี้ปีนี้เสี่ยงหนักทั่วทุกภูมิภาค กรมอุตุฯ จับตา "เอลนีโญ-ลานีญา" คาดฤดูร้อนปีนี้ยาวนาน...


รศ.ดร.ชนาธิป ผาริโน ผู้อำนวยการฝ่ายสวัสดิภาพสาธารณะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เปิดเผยว่า ประเทศไทยตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีความเปราะบางต่อปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นอย่างมาก โดยปี 2559 ประเทศไทยถูกจัดให้อยู่ในอันดับ 9 ของประเทศที่มีความเสี่ยงสูงสุดในโลกที่จะได้รับผลกระทบจากปัญหาดังกล่าว โดยเฉพาะจากปรากฏการณ์เอลนีโญที่ทำให้เกิดวิกฤติภัยแล้งรุนแรงที่สุดในรอบ 20 ปี มีพื้นที่ถูกประกาศให้เป็นเขตผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) ถึง 29 จังหวัด และมี 51 จังหวัดขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค พื้นที่การเกษตรเสียหาย 2.87 ล้านไร่ คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 15,514.65 ล้านบาท ขณะที่ในปี 2562 นี้ ยังมีรายงานจากหลายหน่วยงานว่า ปรากฏการณ์เอลนีโญจะมาเร็วกว่าทุกปี และคาดว่าปริมาณฝนตกจะน้อยกว่าค่าเฉลี่ยปกติ จึงทำให้ปีนี้ประเทศไทยมีความเสี่ยงต่อการเกิดภัยแล้งทุกภูมิภาค

นายรัชฎา สุริยกุล ณ อยุธยา อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า จากแนวโน้มสถานการณ์ความเสี่ยงด้านพิบัติภัยต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในปีนี้ จึงร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โดยศูนย์ประสานงานและพัฒนางานวิจัยด้านโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (THAI GLOB) จัดเวทีเสวนา "Global Warming Forum : เตรียมรับความเสี่ยงภัยแล้ง 2562" ขึ้น เพื่อเป็นเวทีเผยแพร่ข้อมูลวิชาการและสื่อสารทำความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ภัยแล้งที่ประเทศไทยอาจจะต้องเผชิญในปีนี้ รวมถึงเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ ในการเตรียมพร้อมสำหรับการรับมือเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
"เวทีครั้งนี้ถือเป็นโอกาสและการเริ่มต้นที่ดีในการมองภาพรวมสถานการณ์จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอันก่อให้เกิดปัญหาภัยแล้งตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันร่วมกัน เพื่อยกระดับข้อมูลให้สอดรับกับสภาวะภัยแล้ง ให้สามารถเรียนรู้ วิเคราะห์ และเป็นประเด็นท้าทายที่นำผลลัพธ์ที่ได้ไปกำหนดทิศทางเตรียมรับมือกับสถานการณ์ที่มีแนวโน้มเกิดขึ้นในอนาคตได้ต่อไป" อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กล่าว




ด้าน ดร.ชลัมภ์ อุ่นอารีย์ นักวิจัยจากศูนย์ภูมิอากาศ กองพัฒนาอุตุนิยมวิทยา กรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวว่า ปริมาณฝนตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ถือว่าแนวโน้มมีค่าน้อยกว่าค่าปกติ โดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง 2 ปัจจัย คือ 1.ลมมรสุม ซึ่งปกติจะต้องพัดเอาความชื้นจากมหาสมุทรแปซิฟิกมาสู่ตอนเหนือของประเทศไทย แต่ทิศทางเวลานี้กลับพัดเอาความแห้งแล้งเข้ามา และ 2.อิทธิพลของปรากฏการณ์เอลนีโญและลานีญา
"ปกติต้องมีความรุนแรงสูงสุดตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาจนถึงเดือนมกราคม แล้วค่อยๆ อ่อนกำลัง แต่ปีนี้กลับอยู่ในสภาพทรงตัว ซึ่งยังไม่มีใครให้คำตอบได้ว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น และยังชี้ชัดไม่ได้เช่นกันว่านี่เป็นสาเหตุทำให้ลมมรสุมไม่พัดเอาความชื้นเข้ามาด้วยหรือไม่ หากเป็นเช่นนี้ต่อไปนานๆ ก็อาจทำให้เกิดความแห้งแล้งสะสมขึ้นมาได้ ดังนั้นจึงต้องติดตามจับตาและวิเคราะห์สถานการณ์อย่างใกล้ชิด" ดร.ชลัมภ์ กล่าว
นอกจากนี้สถานการณ์ที่เกิดขึ้น อาจมีความเป็นไปได้ที่จะทำให้ฤดูร้อนในปีนี้ยาวนานกว่าปกติที่โดยทั่วไปตั้งแต่ช่วงกลางเดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป จะมีฝนเข้ามา แต่ปีนี้น่าจะมาช้ากว่าเล็กน้อย เนื่องจากทิศทางของลมยังเป็นมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งหากยังยืดเยื้อต่อไปย่อมส่งผลกระทบต่อฤดูฝน อย่างไรก็ตามจะต้องติดตามสถานการณ์ดูอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทุกหน่วยงานสามารถวางแผนการบริหารจัดการสถานการณ์ได้อย่างถูกต้องต่อไป.
ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์
read more...

วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2561

"ฝนหลวงฯ !!ประสาน 2 หน่วยปฏิบัติการช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรเขตอำเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาท!!

Be the first to comment!

กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร อ.เนินขาม จ.ชัยนาท เนื่องจากปริมาณน้ำฝนเดือนกรกฎาคม ในพื้นที่มีปริมาณน้ำฝนสะสมลงแหล่งกักเก็บน้ำน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกร หลังปฏิบัติการอย่างต่อเนื่องทำให้มีปริมาณน้ำฝนตกเพิ่มขึ้น


วันที่ 22 สิงหาคม 2561 เวลา 14.30 น. นายสุรสีห์ กิตติมณฑล อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เปิดเผยว่า เนื่องจากสถานการณ์ปริมาณน้ำฝนในช่วงเดือนกรกฎาคม ของพื้นที่ภาคกลาง อยู่ในภาวะฝนทิ้งช่วงทำให้มีปริมาณน้ำฝนสะสมลงแหล่งกักเก็บน้ำน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกร ประกอบกับมีการร้องขอฝนของเกษตรกรในพื้นที่ จ.นครสวรรค์ จ.อุทัยธานี จ.ชัยนาท และจ.สุพรรณบุรี




จึงได้สั่งการให้หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดลพบุรี และหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดกาญจนบุรี ขึ้นปฏิบัติภารกิจ มีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรในพื้นที่ดังกล่าว โดยได้ขึ้นบินปฏิบัติการตั้งแต่วันที่ 1 – 21 สิงหาคม หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดลพบุรี ขึ้นบินปฏิบัติการ จำนวน 17 วัน 67 เที่ยวบิน (120:00 ชั่วโมงบิน)ใช้สารฝนหลวง 78.3 ตัน และหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดกาญจนบุรี ขึ้นบินปฏิบัติการ จำนวน 15 วัน 51 เที่ยวบิน (74:50 ชั่วโมงบิน) ใช้สารฝนหลวง 50.625 ตัน ซึ่งจากการตรวจสอบข้อมูลจากเกษตรกรในพื้นที่พบว่า    มีฝนตกใน อ.เนินขาม ทั้งอำเภอ โดยปริมาณฝนตกเมื่อวาน เกษตรกรใน ต.สุขเนินขาม ที่ขอรับบริการฝนหลวงแจ้งมาว่าวัดปริมาณน้ำฝนได้ 43 ม.ม. ซึ่งสอดคล้องกับการรายงานของหน่วยเรดาร์อินทร์บุรี พบว่ามีฝนตกเกือบทั้งอำเภอเนินขาม ประมาณ 70%  ของพื้นที่ ส่งผลให้พื้นที่อ.เนินขาม ซึ่งมีทั้งหมด 168,750 ไร่ เป็นพื้นที่การเกษตรประมาณ  132,000 ไร่ โดยส่วนใหญ่ ปลูกอ้อย ประมาณ 80,000 ไร่ ข้าว 20,000 ไร่ ที่เหลือจะเป็นมันสำปะหลังและพืชอื่นๆ ได้รับน้ำจนสามารถรอดพ้นจากวิกฤตในระยะนี้ไปได้ โดยตลอดเวลาการปฏิบัติภารกิจ บางครั้งประสบกับปัญหาและอุปสรรคทางด้านสภาพอากาศที่ลมชั้นบนมีกำลังแรงทำให้ฝนที่ตกในพื้นที่บางครั้ง มีปริมาณเล็กน้อย ทั้งนี้ อ.เนินขาม ยังคงต้องการน้ำอย่างต่อเนื่องในการทำการเกษตร เนื่องจากปริมาณน้ำสะสมลงแหล่งกักเก็บน้ำยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกร








อย่างไรก็ตาม กรมฝนหลวงและการบินเกษตร จะเร่งปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรตามที่ได้รับการร้องขออย่างทั่วถึงทุกพื้นที่ทันทีที่สภาพอากาศเอื้ออำนวย ทั้งนี้ประชาชนและเกษตรกรสามารถแจ้งขอรับบริการฝนหลวงได้ที่ สามารถแจ้งขอรับการบริการฝนหลวงได้ที่ตัวแทนอาสาสมัครฝนหลวงในแต่ละพื้นที่ หรือแจ้งกับเจ้าหน้าที่ประจำหน่วย/ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงทั้ง 5 ภูมิภาค และสามารถติดตามข่าวสารได้ทางwww.royalrain.go.th เพจ Facebook กรมฝนหลวงและการบินเกษตร และการรายงานข่าวการปฏิบัติการฝนหลวงประจำวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย!!
read more...

วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ต้อนรับ นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะ ในโอกาสตรวจราชการจังหวัดชุมพร

Be the first to comment!
 วันจันทร์ที่ ๒๐ สิงหาคม พ. ศ. ๒๕๖๑ เวลา ๑๐.๓๐ น. นายปนิธิ เสมอวงษ์ รองอธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้รับมอบหมายจาก นายสุรสีห์ กิตติมณฑล อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เข้าร่วมต้อนรับ นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะ ในโอกาสตรวจราชการจังหวัดชุมพร ประชุมรับฟังชี้แจงการจัดที่ดินชุมชนตามนโยบายรัฐบาล โดยคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) พื้นที่แปลงหมายเลข No ๘๓ มีเนื้อที่ ๖๒๘๑-๒-๑๒ ไร่ เพื่อจัดสรรเป็นที่ดินทำกินให้กับเกษตรกร พร้อมรับฟังบรรยายสรุป และตรวจติดตามการดำเนินงานการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนฯ หลังจากนั้นกล่าวพบปะผู้แทนเกษตรกร และประชาชนที่มาคอยต้อนรับ โดยมีนายถวิล มั่งนุ้ย ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต ๑๑ ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ในสังกัดร่วมต้อนรับ ณ พื้นที่เขตปฏิรูปที่ดิน แปลงหมายเลข No ๘๓ หมู่ที่ ๕ ตำบลหงษ์เจริญ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร



ต่อมาในช่วงบ่าย นายปนิธิ เสมอวงษ์ รองอธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร พร้อมด้วย นายวีระพล สุดชาฎา ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคใต้ ได้เดินทางเข้าร่วมต้อนรับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พร้อมคณะ ซึ่งเดินทางไปยังโครงการพัฒนาพื้นที่หนองใหญ่ตามพระราชดำริ ต.บางลึก อ.เมืองชุมพร จ.ชุมพร โดยเป็นประธานสักขีพยานในพิธีมอบหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยพื้นที่เป้าหมายการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนในพื้นที่ภาคใต้ และพิธีมอบหนังสือแสดงโครงการป่าชุมชน ให้ชุมชนในพื้นที่ภาคใต้ 



พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวอีกว่า เดินทางมา จ.ระนอง และชุมพร ระหว่างทางมีแต่เสาไฟฟ้า แต่ไม่มีไฟ บางจุดเถาวัลย์ขึ้นตกเป็นท้องช้าง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.) ทำอะไร ทำไมไม่แก้ไข ขอให้ระวังตัว อย่าให้ไฟมันติดๆดับๆบ่อยนัก ชาวบ้านขอให้นายกฯ มาบ่อยๆไฟจะได้ไม่ดับ สงสัยนายกฯ ต้องมานอนที่นี่เลยใช่ไหม รัฐบาลนี้เอาภาษีและงบประมาณมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนเรื่องการทุจริตเป็นอีกเรื่องหนึ่ง เห็นในสื่อโซเชียลเขียนทั้งเรื่องจริงและไม่จริง พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า ขอสรุปวันนี้ไม่ได้มาเรื่องการเมือง แต่มาเรื่องการบ้าน มาตรวจการบ้าน ขอให้วันพรุ่งนี้เขียนอนาคตมาให้ตนดูว่าจะทำอย่างไรกันต่อไป เพื่อที่รัฐบาลจะวางแผนแม่บทก่อนจะมีรัฐบาลใหม่มาแก้ปัญหา ซึ่งตัดสินใจให้ดี จะเลือกใครก็เป็นเรื่องของท่าน และเวลาตนลงพื้นที่ไม่ต้องเกณฑ์ใครมารับ ใครไม่มาก็อย่ามา แต่ตนรู้ว่าอยากมากัน ตนเป็นคนที่พูดสนุกสนาน ดูไม่เป็นทางการ เพราะไม่ใช่นายกฯ เรียบร้อย แต่ทำงานจริง



+++จากนั้นนายกฯ และคณะ เยี่ยมชมนิทรรศการ “ด้วยพระเมตตาบารมี ชุมพรวันนี้สุขร่มเย็น” ซึ่งมีการนำสินค้าจากสหกรณ์ผู้ปลูกกาแฟจังหวัดชุมพร และเครือข่ายธุรกิจในจังหวัดชุมพร อาทิ ผลิตภัณฑ์จากยางพารา ผลผลิตและผลิตภัณฑ์แปรรูปเกษตรแปลงใหญ่จังหวัดชุมพร กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มหม่อนไหมบ้านป่ากล้วย แปลงใหญ่โคนมชุมพร รวมทั้งโครงการแก้มลิงหนองใหญ่ และสะพานไม้เคี่ยม เสร็จแล้วได้เดินทางไปสักการะอนุสรณ์สถานกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ต.หาดทรายรี

read more...

วันพฤหัสบดีที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ตกหนักในรอบ 30 ปี พายุลูกเห็บถล่มลาว ตะลึงขนาดใหญ่เกือบเท่าไข่ไก่

Be the first to comment!
เมื่อวันที่ 21 ก.พ. Tholakhong สื่อข่าวสารและสังคมออนไลน์ประเทศลาว รายงานว่าเมื่อช่วงบ่ายวันที่ 21 ก.พ.นี้ เกิดฝนตกฟ้าคะนองรุนแรงหลายแห่งในประเทศลาว โดยเฉพาะที่แขวงเชียงขวาง ทางตอนเหนือของประเทศ และแขวงเวียงจันทน์ นอกจากพายุฝนรุนแรงแล้ว ยังมี “หมากเห็บ” หรือ “ลูกเห็บ” ตกอีกด้วย บางลูกมีขนาดใหญ่เกือบเท่าไข่ไก่เลยทีเดียว
โดยมีประชาชนถ่ายภาพลูกเห็บ และคลิปวิดีโอ แล้วนำมาโพสต์เผยแพร่ ถึงกับระบุว่าเป็นพายุลูกเห็บที่ค่อนข้างรุนแรง ไม่เคยเห็นมาก่อนในรอบ 30 ปี
ขอบคุณภาพจาก Tholakhong / Phouthone Xaiyavong

read more...

วันอาทิตย์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

หย่อมความกดอากาศต่ำทางอันดามันทวีกำลังแรงเป็นพายุไซโคลน ทำให้ฝนตกต่อเนื่องภาคใต้ กลาง ตะวันออก อิสาน เหนือตอนล่าง

Be the first to comment!
read more...
 
Distributed By Free Blogger Templates | Template Design by BTDesigner • Powered by Blogger
back to top